วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

OPEC






กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก
Organization of Petroleum Exporting Countries ( OPEC )
 http://www.neontommy.com/sites/default/files/uploads/OPEC_Logo.png

กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก เป็นองค์การนานาชาติ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือทางด้านนโยบายน้ำมัน และช่วยเหลือด้านเทคนิคและเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิก

ประวัติการก่อตั้ง
                    โอเปค จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ.2503 โดยประเทศอิหร่าน อิรัก คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และเวเนซุเอลา ต่อมามีสมาชิกเพิ่มอีก 8 ประเทศ ได้แก่  กาตาร์  อินโดนีเซีย ลิเบีย  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  แอลจีเรีย  ไนจีเรีย  เอกวาดอร์  และกาบอง รวมมีสมาชิก 13 ประเทศ ต่อมาเอกวาดอร์ลาออก เมื่อ พ.ศ.2535 และกาบองลาออก  เมื่อ พ.ศ.2538 ปัจจุบัน  จึงเหลือสมาชิกเพียง 11 ประเทศ  โอเปคเดิมมีสำนักงานใหญ่ อยู่มีนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ต่อมา พ.ศ.2508 ได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย



ประเทศสมาชิกในปัจจุบัน

ยุค 1960S (2503-2512)
         โอเปกที่ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกโดยรวมสมาชิกได้ 5 ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เพื่อแสดงตนในการประกาศตัวว่าประเทศสมาชิกเหล่านี้ ว่ามีความชอบธรรมตามกฎหมายในการก้าวเข้าสู่ตลาดการค้าน้ำมันโลก ที่เคยเป็นของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก ในนามของ “Seven Sisters”  (Seven Sisters คือ บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลของโลก ได้แก่ (1) Standard Oil of New Jersey, ปัจจุบันนี้ คือ ExxonMobil (2) Royal Dutch Shell Anglo-Dutch (3) British Anglo-Persian Oil Company ต่อมาเป็น British Petroleum ต่อมาเมื่อ BPAmoco ที่เกิดควบรวมกับ Amoco (ซึ่งเดิม คือ Standard Oil of Indiana) ปัจจุบันนี้ คือ BP (4) Standard Oil of Newyork ต่อมาเป็น Mobil เมื่อควบรวมกับ Exxon ปัจจุบัน คือ ExxonMobil (5) Texaco ที่ควบรวมกับ Chevron ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco (6) Standard Oil of California (Socal) ที่กลายเป็นของ Chevron ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco (7) Gulf Oil ที่หุ้นส่วนใหญ่แล้วเป็นของ Chevron ที่ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco โดยเครือข่ายสถานีน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อว่า ChevronTexaco ดังนั้น ปัจจุบันนี้ บริษัทน้ำมันที่ยังเหลือรอดอยู่ในวงการ คือ (1) ExxonMobil (2) ChevronTexaco (3) Shell และ (4) BP เท่านั้น)
         กิจกรรมของโอเปกจะเป็นไปตามปกติ คือ เมื่อมีการก่อตั้งขึ้นมาแล้ว ก็ได้กำหนดให้มีสำนักงานเลขาธิการขององค์กร โดยเริ่มงานที่นครเจนีวาก่อนจะย้ายไปยังกรุงเวียนนาในเวลาต่อมาในปี 2508 ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ได้มีการประชุมตกลงกันระหว่างกลุ่ม และเจรจาต่อรองกับบริษัทน้ำมันต่างๆ โดยมีประเทศสมาชิกจากเดิม 5 ประเทศ ในตอนก่อตั้ง แล้วเพิ่มเป็น 10 ประเทศในทศวรรษนี้เอง

ยุค 1970S (2513-2522)
            โอเปกเริ่มมีชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในทศวรรษนี้เอง โดยประเทศสมาชิกได้เข้าไปควบคุมอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเลียมในประเทศของตน และร่วมกันประกาศราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ในระหว่างนี้ได้เกิดวิกฤตราคาน้ำมันโลก 2 ครั้ง มีการหยุดการขนส่งน้ำมันจากประเทศในกลุ่มอาหรับในปี 2516 และเกิดการปฏิวัติในประเทศอิหร่านในปี 2522 ทั้งสองกรณีนี้ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมัน ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จึงมีการประชุมสุดยอดผู้นำของโอเปกขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2518 นอกจากนี้โอเปกได้มีมติรับประเทศไนจีเรียเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 11 ในปี 2514

ยุค 1980S (2523-2532)
            ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูงลิบลิ่วในต้นทศวรรษนี้ ก่อนที่จะเริ่มลดราคาลงอย่างต่อเนื่องในเวลาต่อมา จนเกิดพังพาบลงไปในที่สุดวิกฤตราคาน้ำมันโลกครั้งที่ 3 ในปี 2529 ราคาน้ำมันได้ดิ่งลงอย่างต่อเนื่องเรื่อย ๆ จนถึงปีท้าย ๆ ของทศวรรษนี้ โดยไม่เหลือร่องรอยของอดีตแห่งความรุ่งโรจน์เมื่อต้นทศวรรษนี้เลย ซึ่งเป็นการเตือนว่าในการเติบโตของความต้องการ ต้องมีการเชื่อมประสานระหว่างผู้ผลิตทั้งหลาย ถ้าต้องการให้ตลาดมีความยั่งยืนได้ในอนาคต ราคาก็ต้องมีความเป็นธรรม นอกจากนี้ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ได้เริ่มเข้ามามีบทบาท โดยถูกจัดให้อยู่เป็นวาระการประชุมในเวทีระดับโลก

ยุค 1990S (2533-2542)
             วิกฤตราคาน้ำมันโลกครั้งที่ 4 เริ่มอีกในต้นศตวรรษนี้ จากการเกิดการสู้รบในตะวันออกกลาง เมื่อราคาเกิดการพุ่งทะยานขึ้นอย่างแรงทันที จากการกังวลของตลาดว่าการผลิตจากกลุ่มโอเปกเพิ่มขึ้นได้ไม่มาก ต่อมาราคาจึงค่อนข้างคงที่จนถึงปี 2543 เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้น ได้เกิดการรวมตัวกันของโอเปกและประเทศผู้นำการผลิตปิโตรเลียมนอกกลุ่มโอเปกเพื่อเข้ามาเยียวยาปัญหานี้ จนสิ้นทศวรรษนี้ได้เกิดกระแสเร่งด่วนของโครงการควบรวมกิจการของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ทั้งหลายเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอย่างยิ่งใหญ่ ส่วนใหญ่แล้วในช่วงทศวรรษนี้บรรยากาศของการเจรจาต่อรองระหว่างนานาชาติดำเนินไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้น้ำมันในอนาคต


จุดประสงค์ในการตั้งโอเปก
            เพื่อเป็นตัวกลางประสานงานด้านนโยบายน้ำมันระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ในการรักษาระดับราคาให้มีความเป็นธรรม และสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศผู้ผลิตปิโตรเลียม ก่อให้เกิดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างเศรษฐกิจ และรักษาระดับความสม่ำเสมอในการผลิตปิโตรเลียม เพื่อให้เพียงพอในการป้อนเข้าสู่ตลาดโลก โดยผู้ผลิตจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม ในการได้รับการคืนทุนที่ได้ลงไปในอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเลียม

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง

ในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มโอเปค  การขุดเจาะน้ำมันในประเทศสมาชิกต่างเป็นการลงทุนและดำเนินการโดยบริษัทน้ำมันต่างชาติ ประเทศเจ้าของบ่อน้ำมันได้รับค่าภาคหลวงตอบแทน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ส่วนน้อย การร่วมมือของกลุ่มโอเปคในช่วงนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายสำคัญ 3 ประการ คือ
1. เพื่อเจรจากับบริษัทน้ำมันผู้ได้รับสัมปทานในการตั้งกองทุนน้ำมันดับให้เท่ากันทุกประเทศ
2. เพื่อนำราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลมาจากการเจรจาใช้เป็นฐานในการคำนวณเป็นรายได้ของประเทศ
3. เพื่อเป็นอำนาจต่อรองในการยึดครองหรือโอนกิจการน้ำมันเป็นของรัฐต่อไป
                    

กลุ่มโอเปคได้ดำเนินงานไปตาวัตถุประสงค์จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจและต่อมาเมื่อมีสามชิกเพิ่มขึ้นอีก 8 ประเทศ ทำให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้นและขยายวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกมากขึ้นคือ
1. เพื่อปกป้องราคาน้ำมันตกต่ำและเจรจาขายน้ำมันดับในเงือนไขที่ดี
2. เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทน้ำมันผู้ผลิตน้ำมันในอัตราที่สูงขึ้น
3. เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการประกาศเพิ่มราคาน้ำมัน








การบริหารองค์กรของโอเปก

         สมาชิกโอเปกให้ความร่วมมือกันในการกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมัน เพื่อช่วยให้เกิดความมั่นคงในตลาดน้ำมัน และช่วยให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันได้รับการคืนทุนให้คุ้มกับที่ได้ลงทุน นอกจากนี้นโยบายนี้ยังได้กำหนดขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคว่าจะได้รับน้ำมันตามความต้องการอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
         องค์กรด้านพลังงานและไฮโดรคาร์บอนจะจัดให้มีการประชุม ปีละ 2 ครั้ง ในการทบทวนบทบาท และสถานะในตลาดน้ำมันโลก รวมทั้งคาดการณ์อนาคต เพื่อจะได้ตกลงร่วมกันในการแสดงบทบาทอย่างเหมาะสม ในการสร้างความมั่นคงให้แก่ตลาดน้ำมัน
         ประเทศสมาชิกยังมีการจัดการประชุมอื่น ๆ ตามระดับความสนใจ ได้แก่ การประชุมของผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเลียมและด้านเศรษฐศาสตร์ การประชุมของผู้แทนระหว่างประเทศ รวมทั้งงานเฉพาะกิจอื่น ๆ เช่น การประชุมของคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
         การตกลงใจเพื่อหาจุดเหมาะสมของการผลิตน้ำมันเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดนั้นจะเกิดขึ้นในการประชุมของโอเปก รายละเอียดและผลของการประชุมจะมีแถลงการณ์ออกมาทุกครั้ง

         สำนักเลขาธิการโอเปค เป็นองค์กรที่มีสถานะถาวรในการร่วมงานกันของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ สำนักเลขาธิการที่มีฐานการทำงานที่กรุงเวียนนา ตั้งแต่ปี 2508 นั้น ได้ดำเนินงานด้านการวิจัย และงานด้านบุคคล ของประเทศสมาชิก รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารต่างออกไปทั่วโลก


ผลการปฏิบัติงาน

                    ในปัจจุบันโอเปคเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลสูงมากทั้งต่อระบบเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ เพราะมนุษย์จำเป็นต้องใช้พลังงานที่มาจากน้ำมัน แต่ด้วยเหตุที่ประเทศสมาชิกของกลุ่มโอเปคมีสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรมแตกต่างกัน ทั้งยังมีปริมาณน้ำมันสำรองไม่เท่ากันด้วย การกำหนดราคาและโควตาการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปคในระยะหลังมานี้ มักไม่มีเอกภาพ กล่าวคือประเทศคูเวค กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่างเป็นประเทศที่มีปริมาณน้ำมันสำรองอยู่มาก และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สามารถปฏิบัติตามมติของโอเปคได้ แต่ประเทศอิหร่านแม้มีปริมาณน้ำมันสำรองอยู่มาก แต่หลังสงครามกับอิรักแล้วต้องลอบผลิตน้ำมันออกจำหน่ายเกินโควตาที่โอเปคให้ไว้ เพื่อนำเงินมาฟื้นฟูบูรณะประทศ
                    ประเทศอิรัก มีแหล่งน้ำมันสำรองมากประเทศหนึ่ง แต่ได้รับความเสียหายจากสงครามกับอิหร่านและพ่ายแพ้สงครามในการปิดล้อมคูเวต ซึ่งสหประชาชาติได้ออกมาตรการต่างๆ มากำหนด ทำให้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันได้อย่างจำกัด ส่วนประเทศไนจีเรียมีปริมาณน้ำมันสำรองน้อย เป็นประเทศยากจน และมีจำนวนประชากรมาก จึงต้องผลิตน้ำมันเกิดโควตาและจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าที่โอเปคกำหนด
                    กิจกรรมสำคัญที่โอเปคดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2516 เป็นต้นมา คือ การปรับราคาน้ำมันดิบ ซึ่งได้กระทำหลายครั้ง จนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออกเหล่านี้มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยขึ้น และได้นำเงินตราเหล่านี้ไปใช้เสริมสร้างความมั่นคงและพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น การซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อป้องกันประเทศ การสร้างโรงกลั่นน้ำมันเพื่อการส่งออก การส่งเสริมอุตสาหกรรมปิโตรเลียม การให้สวัสดิการและยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นต้น
                    นอกจากนี้ สมาชิกของกลุ่มโอเปคยังได้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศอาหรับที่มิได้เป็นสมาชิกของโอเปค และประเทศอื่นที่ประชากรบางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก

สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศโอเปค ได้แก่ การติดต่อค้าขายน้ำมันและ ด้านแรงงานที่ไทยมักส่งไปประเทศเหล่านี้ ส่วนการติดต่อกันในด้านอื่นนับว่ามีน้อย
แม้กลุ่มประเทศโอเปคจะเป็นกลุ่มที่ใช้น้ำมันเป็นเครื่องต่อรองกับประเทศต่างๆทั่วโลกทั้งด้าน เศรษฐกิจและการเมือง และประเทศไทยก็เคยได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการขึ้นราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปค แต่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มโอเปคยังมีอยู่ สรุปได้ดังนี้
                    1. ทางด้านการค้า ไทยยังมีการค้าขายกับกลุ่มโอเปค โดยการนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะประเทศโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย และสินค้าออกที่สำคัญของไทยที่ส่งไปยังกลุ่มโอเปค ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องหนัง
                    2. ทางด้านแรงงาน เป็นเรื่องที่สำคัญและน่าสนใจ เพราะไทยได้จัดส่งแรงงานเข้าไปทำงานในประเทศกลุ่มโอเปคเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่ทางรัฐบาลไทยต้องติดตามและให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ประเทศกลุ่มโอเปคที่คนงานไทยไปทำงานมากในปัจจุบัน คือ ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต ทางด้านประเทศอิรัก ซึ่งเคยมีคนงานไทยไปทำงานกันมาก แต่หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียแล้วมีจำนวนคนงานไทยลดลง
                    3. ด้านการเมือง เป็นความสัมพันธ์ทางด้านการทูตและการเยี่ยมเยือนเพื่อกระชับความสัมพันธไมตรีของผู้นำประเทศ
                    4. อื่นๆ กลุ่มโอเปคได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องเงินกู้ ส่วนไทยก็ได้ให้ความสะดวกแก่ประเทศเหล่านี้โดยการให้นักวิชาการมาศึกษาดูงานในไทย โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร


ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

1. ไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศสมาชิกโอเปคบางประเทศ เช่น ซาอุดิอาระเบียและคูเวต เป็นต้น ส่วนสินค้าออกที่ส่งไปยังประเทศเหล่านี้ ได้แก่ ข้าวโพด เสื้อผ้า เครื่องหนัง
2. แรงงานไทยที่ออกไปทำงานในกลุ่มประเทศโอเปค เช่นลิเบีย คูเวต ซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับอามิเรตส์ เป็นต้น
3. มีความสัมพันธ์ทางการฑูต

บทบาทขององค์การโอเปคในปัจจุบัน  ฐานะความสำคัญของโอเปคลดลงไปอย่างมาก  ไม่สามารถควบคุมราคาน้ำมันในตลาดโลก  ให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มตนได้ และไม่อาจใช้น้ำมันเป็นอาวุธบีบให้ชาติมหาอำนาจตะวันตกปฏิบัตินโยบายทางการเมืองระหว่างประเทศตามความต้องการของกลุ่มตนได้  เนื่องจากประเทศสมาชิกโอเปคต่างไม่ปฏิบัติตามกติกา  ไม่ร่วมมือกันอย่างจริงจัง  เช่น  ลักลอบผลิตน้ำมันเกินโควตาที่กำหนด  ทำให้ปริมาณน้ำมันล้นโลก  และมีประเทศนอกกลุ่มสามารถผลิตน้ำมันได้ปริมาณมากเช่นกัน  ได้แก่  อังกฤษ  เม็กซิโก  บรูไน  นอร์เวย์ ฯลฯ  ทำให้อำนาจขององค์การโอเปคไม่อาจสร้างความสั่นสะเทือนให้แก่ชาวโลกได้เหมือนดังในอดีต  คงทำหน้าที่ประสานงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่ประเทศสมาชิกเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น